โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน – อะไรคือปัจจัยเสี่ยง?

โรคเบาหวานในประเทศไทยมีความชุกมากถึง 8.8% โดยประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน่เลยทีเดียว มากเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งโรคเบาหวานจะพบภาวะการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลอย่างถาวรทำให้นำไปสู่โรคแทรกซ้อนอีกมากมาย และกว่าจะพบโรคร่วมที่เกิดขึ้นอาจจะสายเกินไปในการรักษา

การมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน นั่นหมายถึงการทำงานของร่างกายในกระบวนการย่อยสลายน้ำตาลที่มีมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species, ROS) จำนวนมากปลดปล่อยออกมา ซึ่งไปเพิ่มการทำลายเส้นเลือด เส้นประสาท และอวัยวะต่างๆในระยะยาว ภาวะหัวใจวาย ไตวาย หรือเส้นเลือดในสมองแตกจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นตามไปด้วย

โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งมันเป็นเรื่องยากที่จะตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น!

TOPIC OVERVIEW

ภาวะเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน

เมื่อหลอดเลือดถูกทำลายจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ออกซิเจนและสารอาหารที่มาหล่อเลี้ยงเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อการสัมผัสและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อจะลดลงจนทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน กระบวนการเมตาบอลิซึมในสภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) จะนำไปสู่การทำลายเส้นประสาทอย่างช้าๆ ในทางกลับกัน Advanced glycation end product, AGE ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดจากการเมตาบอลึซึมนั้นจะมีการสร้างเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก reactive oxygen species, ROS มารบกวนกระบวนการย่อยสลายน้ำตาลในร่างกาย เมื่อวงจรดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำๆก็จะส่งผลให้เกิดภาวะเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน (diabetic neuropathy) ซึ่งถือเป็นโรคร่วมที่พบได้บ่อยที่สุดจากเบาหวาน  ประมาณหนึ่งในสามของคนไข้เบาหวานจะพบอาการเส้นประสาทอักเสบร่วมด้วยและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน สังคม หรือครอบครัวได้ โดยทั่วไปแล้วเส้นประสาทบริเวณปลายเท้าและปลายมือจะได้รับผลกระทบเป็นที่แรกและค่อยขยายวงกว้างขึ้นมาส่วนกลางของร่างกาย

อาการของภาวะเส้นประสาทอักเสบจากเบาหวาน

ภาวะเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานนับเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการแสดงได้หลากหลาย ขึ้นกับชนิดและตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกทำลาย โดยพบว่าสามารถแบ่งได้สองกลุ่ม คือ

กลุ่มแรก จะเป็นอาการที่ทำให้เกิดการรับรู้ความรู้สึกจากการสัมผัสต่างๆได้มากกว่าคนปกติ (positive neurological symptoms) แม้ว่าการสัมผัสนั้นมีความแรงเท่าปกติ เช่น ปวดเหมือนโดนเข็มทิ่ม(stabling pain) ปวดเหมือนโดนไฟลวก(burning pain) รู้สึกมีมดไต่ที่เท้า(tingling, paresthesia) หรืออาการชา(numbness) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน

กลุ่มที่สอง ผู้ป่วยจะรับรู้ความรู้สึกได้น้อยกว่าปกติ (negative neurological symptoms, neurological deficit) เช่น การสูญเสียความรู้สึก ไม่รับรู้ถึงความเจ็บปวด แยกความแตกต่างของอุณหภูมิไม่ได้ โดยส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลหรือในรายที่รุนแรงมีโอกาสต้องตัดเท้าได้

การรักษาภาวะเส้นประสาทอักเสบจากเบาหวาน

การรักษาภาวะเส้นประสาทอักเสบจากเบาหวาน ควรทำการรักษาบนพื้นฐาน 3 ประการ คือ

  • การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงสิ่งที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น การดื่มแอลกาฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมทั้งดูแลเท้าอยู่เสมอ
  • การรักษาตามอาการ (symptomatic treatment) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำในการรักษาที่ถูกต้อง
  • การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค (pathogenetic treatment) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง

แผลเบาหวานบริเวณเท้า – พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

สิ่งกระตุ้นของภาวะเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน ก็คือการทำงานที่ผิดปกติไปของระบบประสาท โดยแผลเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การเกิดแผลเบาหวานที่เท้า เนื่องจากเป็นอวัยวะส่วนปลาย หลอดเลือดที่นำออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงก็จะเป็นหลอดเลือดขนาดเล็กซึ่งถูกทำลายได้ง่าย ประกอบกับแรงกดจากน้ำหนักตัว โดยผู้ที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกถึง 50% และนำไปสู่อาการที่รุนแรงของโรคจนอาจทำให้คนไข้มีโอกาสต้องสูญเสียเท้าได้ จากข้อมูลของประเทศไทย พบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดแผลที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า และผู้ป่วยเบาหวานที่เคยถูกตัดเท้าไปแล้วข้างหนึ่งจะมีโอกาสที่จะต้องถูกตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าอีกข้างหนึ่งภายในระยะ 2-5 ปี ดังนั้นการป้องกันและตรวจสอบเท้าอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าพบแผลเพียงเล็กน้อยบริเวณเท้าก็จะต้องตระหนักว่าจำเป็นต้องทำการรักษาและป้องกันการอักเสบที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดการลุกลามของแผล

[Translate to Thai:] Diabetische Folgeerkrankungen Füße

ความเสี่ยงของเส้นเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวาน

เมื่อผนังหลอดเลือดถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อการสะสมของแคลเซียมและก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(arteriosclerosis) กระบวนการหดตัวของหลอดเลือดนี้ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบและส่งผลให้ออกซิเจนภายในหลอดเลือดมีไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายเมื่อเกิดความต้องการที่สูงมากขึ้นอย่างกระทันหัน นอกเหนือจากนั้นก้อนเลือดที่ถูกสร้างขึ้นก็ส่งผลต่อภาวะหัวใจล้มเหลว(heart attack)หรือหลอดเลือดในสมองแตก(stroke) ในกลุ่มคนไข้เบาหวานชนิดที่2ที่มีโรคไขมันและความดันร่วมด้วยจะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองแตกได้เพิ่มขึ้น

การปวดขาเป็นระยะที่มีสาเหตุมาจากโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial occlusive disease, PAOD) เป็นสภาวะที่มีการตีบแคบของหลอดเลือดแดงบริเวณขา ในภาวะเริ่มต้นจะมีอาการแสดงบริเวณเท้า เช่น รู้สึกหนาวและชาเหมือนมีมดไต่ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเดิน ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องหยุดและพักในระหว่างเดินเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น กรณีที่โรคมีการพัฒนาไปมากสามารถนำไปสู่สภาวะเส้นเลือดตาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตัดขาหรือเท้าในที่สุด ดังนั้นควรจะหาวิธีป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของการรักษาในผู้ป่วยเบาหวาน

[Translate to Thai:] Diabetische Folgeerkrankungen Schaufensterkrankheit

ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลที่สูงเป็นระยะเวลานานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการทำลายของผนังหลอดเลือด ซึ่งส่งผลต่อไปยังหลอดเลือดฝอยที่หน่วยไต ไตมีหน้าที่หลักในการคัดกรอง ดูดซึม และขจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ โดยของเสียนั้นจะมากับเลือดและถูกกรองที่หน่วยไต เมื่อการกรองของหน่วยไตหยุดทำงานลงอย่างช้าๆ ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดของเสียออกไปได้ ประมาณ1ใน10ของคนไข้เบาหวานจะมีภาวะแทรกซ้อนทางไตร่วมด้วย โดยในระยะแรกจะไม่มีอาการใดปรากฏให้ทราบแม้จากการตรวจเลือด แต่จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะพบโปรตีนซึ่งมีปริมาณไม่มากในระยะต้น ต่อมาปริมาณโปรตีนจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาการคนไข้จะแย่ลงตามระยะเวลาของการเป็นโรค อาการพื้นฐานของผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่น ตาเหลือง อาการบวมจากการสูญเสียโปรตีนไปในปัสสาวะ กรณีที่แย่ที่สุดก็คือเกิดภาวะไตวายซึ่งจำเป็นต้องทำการฟอกไต(dialysis) หรือทำการเปลี่ยนไต(kidney transplantation) ดังนั้นในระยะเริ่มต้นของการเป็นเบาหวานคนไข้สามารถตรวจเลือดและปัสสาวะเป็นประจำเพื่อประเมินและติดตามอาการ

เบาหวานเข้าจอประสาทตา (diabetic retinopathy)

หลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตาได้รับผลกระทบจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาหรือโรคเบาหวานขึ้นตาเป็นสาเหตุทำให้เกิดตาบอดที่พบมากในคนไข้เบาหวาน หลอดเลือดแดงเล็กๆจำนวนมากที่มาเลี้ยงจอประสาทตาจะค่อยๆเสื่อมสภาพจนตาย เกิดการบวมของจุดรับภาพบนจอประสาทตา เกิดเส้นเลือดงอกใหม่ที่ผิดปกติ โดยหลอดเลือดแดงใหม่ที่ก่อตัวเพื่อชดเชยการสูญเสียของหลอดเลือดแดงที่ตายไปนั้นสามารถฉีกขาดได้ง่ายและเป็นสาเหตุทำให้จอประสาทตาหลุดออกได้ในที่สุด  นอกจากนี้ระดับน้ำตาลที่สูงยังสามารถทำให้เกิดเลนส์ตาบวม ส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดเจนคล้ายคนสายตาสั้น หากระดับน้ำตาลขึ้นๆลงๆไม่คงที่ ก็จะเป็นสาเหตุให้คนที่เป็นเบาหวานนั้นบางวันมองชัด บางวันมองไม่ชัด หรือมีค่าสายตาเปลี่ยนบ่อยได้

การตรวจสายตาอยู่เสมอจะสามารถป้องกันหรือหยุดอาการที่ส่งผลต่อจอประสาทตาได้

[Translate to Thai:] Diabetische Folgeerkrankungen Auge

การตระหนักและป้องกันโรคร่วมจากภาวะเบาหวาน

เมื่อมีการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นควรมีการตรวจร่างกายเป็นประจำ เช่น การทดสอบสมรรถภาพเส้นประสาท ระบบการไหลเวียนเลือด การตรวจปัสสาวะ รวมทั้งสอบถามอาการผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เพื่อที่จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการเกิดโรค

ตัวอย่างในการตรวจวัดสมรรถภาพของเส้นประสาทมักทดสอบบริเวณเท้าเป็นหลัก เช่น การทดสอบโดยใช้ส้อมเสียง(tuning fork test)แตะไปที่เท้า เพื่อประเมินการรับรู้ด้านการสั่นสะเทือน

การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในคนไข้เบาหวาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลที่น้อยแล้ว ก็ยังควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ควบคุมเบาหวานได้ยากขึ้น รวมทั้งสารนิโคตินและสารเสพติดอื่นๆในควันบุหรี่จะขัดขวางการออกฤทธิ์ของอินซูลินในร่างกาย ในส่วนของแอลกอฮอล์นั้นทำให้การทำงานของตับไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ดี ซึ่งนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้

[Translate to Thai:] Diabetische Folgeerkrankungen Gemüse

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยในการควบคุมน้ำหนักก็ยังสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายได้อีกด้วย

ในกลุ่มคนไข้ที่มีโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ก็ควรควบคุมระดับความดันและไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายที่จะส่งผลต่อหลอดเลือดและอวัยวะอื่นๆในร่างกาย

© 2016 Wörwag Pharma GmbH & Co. KG - The range of information provided in www.woerwagpharma.de about personal health is exclusively for your information and in no way replaces a personal consultation, examination or diagnosis by a licensed physician. The contents made available on www.woerwagpharma.de cannot and may not be used for establishing diagnoses and/or taking medication on your own. Please also pay attention to the exclusion of liability and our indications to the image rights.